ทิศทางการศึกษาปี 2020
บทความเรื่องอื่นๆ

ทิศทางการศึกษาปี 2020

ทิศทางการศึกษาปี 2020

ทิศทางการศึกษาปี 2020 เรื่องการศึกษา ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเกี่ยวข้องกับอนาคตของประเทศที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด เยาวชนทุกคนควรได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน หรือพื้นที่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม อย่างในช่วงต้นปีที่ผ่านมา การศึกษาทั่วโลก ล้วนได้รับผลกระทบจากไวรัสร้ายโควิด ช่วงเวลาในการเปิดภาคเรียนถูกเลื่อนจากเดิม  ออกไปแบบไม่มีกำหนด ประเทศที่มีระบอบการศึกษาดีระดับโลกได้รับผลกระทบ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเอง ก็ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน กระทรวงการศึกษาจำเป็นต้องปรับระบอบการเรียนการสอนใหม่ ให้เท่าทันสถานการณ์มากขึ้น ซึ่งทิศทางการศึกษา 5 แบบ ที่น่าจะถูกนำมาปรับใช้ กับระบอบการศึกษาไทย มีดังนี้

เน้นการศึกษาที่เข้าถึงได้มากขึ้น

1. เน้นการศึกษาที่เข้าถึงได้มากขึ้น  

สำหรับการศึกษาที่เน้นการเข้าถึงการศึกษามากขึ้น จะมาในรูปแบบของการเรียนออนไลน์เป็นหลัก ความจริงการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ได้ถูกนำมาปรับใช้กับการศึกษาไทยนานแล้ว แต่เป้าหมายหลักในขณะนั้น จะเป็นกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในชนบท ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ จากไวรัสร้ายบีบบังคับ กระทราวงการศึกษาจำเป็นต้องนำหลักสูตรการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือการศึกษาระบบดิจิตอล มาปรับใช้กับการศึกษารูปแบบปกติ ให้กลุ่มนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยม สามารถเรียนรู้บทเรียนได้ที่บ้าน จนกว่าจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

ขอดีของการเรียนผ่านระบบดาวเทียม หรือการศึกษารูปแบบดิจิตอล คือการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ ๆ แบบไม่จำกัดแค่ในห้องสี่เหลี่ยม หรือห้องเรียนรูปแบบเดิม ๆ เท่านั้น แต่ข้อเสียหนึ่งอย่างที่ยังแก้ไขไม่ได้ จากการเรียนรูปแบบนี้ คือการสนทนาโต้ตอบ กรณีที่ผู้เรียนมีคำถามสงสัยนั่นเอง

2. เน้นข้อมูลเชิงลึก ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพิ่มเติม

เทคโนโลยีสามารถช่วยให้สถาบันการศึกษา และตัวผู้เรียนมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่หลายหน่วยงานทราบ แต่ยังหาจุดกึ่งกลาง ที่จะนำมาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพในไทยไม่ได้ การศึกษารูปแบบใหม่ จะเน้นใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตำราเรียนแบบดิจิทัล หรือใช้เทคโนโลยีการศึกษาข้อมูลเชิงลึก ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมีค่า เพื่อให้ตำรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ คือผู้เรียนจะได้ตำราเรียนที่เหมาะสมกับบุคคลมากขึ้น ยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยจะไม่มีการรวบรวมข้อมูลลงในสเปรดชีต Excel ของแต่ละแผนก แต่ข้อมูลทั้งหมดจะรวมอยู่ในระดับสถาบัน ดังนั้นจึงสามารถแยกข้อมูลเชิงลึกได้ เมื่อข้อมูลเชิงลึกที่ใช้เป็นตัวขับเคลื่อน สามารถค้นหาได้จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ตัวผู้เรียนตลอดจนอาจารย์ผู้สอน ก็จะได้ประโยชน์จากการหาข้อมูลมากขึ้นตามไปด้วย

เน้น การศึกษาที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น

3. เน้น การศึกษาที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น

การศึกษาผ่านระบบดิจิตอล จะช่วยให้ผู้เล่นอยู่ในเซฟโซนของตัวเองได้มากขึ้น หรือพูดง่าย ๆ มันคือการเรียนที่เน้นความเป็นส่วนตัวนั่นเอง ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใส่ยูนิฟอร์ม ไม่จำเป็นต้องเคารพธงชาติ ไม่จำเป็นต้องเดินทงออกจากบ้าน แต่สามารถเรียนในห้องสี่เหลี่ยม หรือพื้นที่สบายผ่านเทคโนโลยีได้ทันที แต่เรื่องการเน้นการศึกษาที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น ไม่ได้ดีเฉพาะกับตัวผู้เรียนเท่านั้น ครูผู้สอนเองก็ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้เช่นกัน  ครูสามารถเข้าถึงเครื่องมือการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ ที่แตกต่างจากหลักสูตรที่กำหนดไว้ ซึ่งถือเป็นการก้าวออกจากเซฟโซนในตำราได้ดีมากทีเดียว

4. เน้นการศึกษาที่สมจริงมากขึ้น  

ความจริงเรื่องการเรียนรูแบบเน้นการศึกษาเสมือนจริง มีการนำมาใช้ในการศึกษาประเทศต่าง ๆ หลายประเทศแล้ว เพื่อให้นักเรียนหรือผู้เรียน ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว มากกว่าวิชาที่บรรจุเอาไว้ในตำราเรียน อย่างในบทเรียนเกี่ยวอียิปต์โบราณ ที่เปิดให้ศึกษาในประเทศอียิปต์ ประเทศที่มีวัตศาสตร์อันงดงามน่าค้นหา ได้มีการปรับใช้การเรียนรู้เสมือนจริงในวิชานี้เอาไว้ ผู้เรียนจะต้องสวมหูฟัง VR และเดินไปรอบ ๆ ช่วงเวลาดิจิทัล ผู้เรียนสามารถสัมผัสกับหัวข้อที่ยากในการคิด ผ่านความเป็นจริงที่ขยายออกไปได้ เช่นการเดินท่ามกลางค่ายผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย เทคโนโลยีตัวนี้จะช่วยให้การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ นักเรียนจะคุ้นเคยกับการใช้อินเตอร์เฟสเสียงที่บ้าน ซึ่งถือแป็นความรู้ที่ไม่มีสอนในตำรา หากในอนาคต การศึกษาไทยสามารถผลิตเทคโนโลยี การเรียนรู้รูปแบบเดียวกับอียิปต์ได้ น่าจะเป็นผลดีกับกรศึกษาไม่น้อยทีเดียว

5. มีโรงเรียนแบบ automated มากขึ้น

โรงเรียนหลายแห่งอาจจะปรับใช้การประเมินออนไลน์ ที่ยืดหยุ่นการโต้ตอบและมีประสิทธิภาพในการส่งมอบมากยิ่งขึ้น ระบบอัตโนมัติจะช่วยดำเนินการ และเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีเครื่องมืออัจฉริยะเพิ่มเข้ามา รวมถึงเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าเพื่อเข้าร่วมการวิเคราะห์ต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพ มากกว่าระบบการเช็คชื่อที่ใช้กันในปัจจุบัน ครูไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งช่วยทำงานธุรการอีกต่อไป เพราะนักเรียนสามารถโต้ตอบกับเทคโนโลยีออนไลน์ได้เอง หากสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จริงในอนาคต ระบอบการศึกษาไทย น่าจะก้าวข้ามผ่านกรอบเดิม ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

และทั้งหมดนี้คือทิศทางการศึกษา ที่คาดว่าจะมีการนำมาปรับใช้ในปี 2020 หรือหลังจากปี 2020 ไป ความจริงการปรับเปลี่ยนบางอย่างเริ่มมีให้เห็นในไทยแล้ว อย่างเช่นการเรียนออนไลน์ ผ่านระบบทีวีดิจิตอล ที่ถูกปรับใช้ในช่วงโควิดระบาด ส่วนในอนาคตไทยจะเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา ในลักษณะไหนเพิ่มเติมบ้าง เป็นเรื่องที่เราต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด เพราะการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ แม้แต่วินาทีเดียว

กลับหน้าแรก